วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 13.10 - 16.40.

เนื้อหากิจกรรมที่เรียน
    ก่อนเข้าบทเรียนอาจารย์ให้เล่นเกมก่อน "เกม รถไฟเหาะ" จะเป็นลักษณะที่จะให้เราดูภาพเครื่องเล่นต่างๆ มีอยู่ 5ข้อให้เราตอบเมื่อเห็นภาพให้นึกถึงเหตุการณ์ถ้าเราไปอยู่จุดนั้นเราจะรู้สึกอย่างไรบ้าง จากนั้นก็มาเฉลยคำตอบเป็นคำตอบที่บ่งบอกนิสัยของแต่ล่ะคนนั่นเอง...

                                         การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะทางสังคม
   เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่ การอยู่ในสถาภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข ควรปรับที่เด็กสภาพแวดล้อมไม่มีผลต่การปรับตัวเด็ก
  - กิจกรรมการเล่น
     การเล่นเป้นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อนแต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ เขาจะเข้าไปสัมผัส
  - ยุทธศาสตร์การสอน
      เด็กพิเศษบางคนยังไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร ครูต้องเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กเป็นรายบุคคลอย่างเป็นระบบ ถึงจะทราบได้ว่าเด็กแต่ล่ะคนมีทักษะการเล่นอย่างไรบ้าง และนำมาจดบันทึก ทำแผน IEP
  - การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
     ควรวางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง และคำนึงถึงเด็กทุกคน ให้เด็กเล่น
เป็นกลุ่มๆ 2 -4 คน เด็กปกติทำหน้าที่เหมือนครูให้เด็กพิเศษ เด็กจะเลียนแบบเพื่อนรอบข้าง
 - ครูควรปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
     อยู่ใกล้ๆและเฝ้ามองอย่างสนใจ ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาถามครู ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป จะทำให้สมาธิของเด็กชะงัก เขาจะเปลี่ยนความคิดตัวเอง ควรให้ความคิดเห็นเป็นแรงเสริม
 - การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
     ครูพูดชักชวนเด็กให้เด็กเล่นร่วมกับเพื่อน ทำโดย การพูดนำของครู  ของเด็กทั้ง 2ฝ่าย ทั้งเด็กปกติและเด็กพิเศษ ให้เด็กรู้จักการแบ่งปันเอื้อเฝื้อซึ่งกันและกัน
 - ช่วยเด็กทุกคนให้รู้เกณฑ์
     ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ เพราะเด็กพิเศษเขาจะยึดตัวเองเป็นหลักต้องคอยบอกค่อยๆเป็นค่อยๆไป การให้โอกาสเด็กทุกคนมีส่วนรวม แสดงความคิดเห็น เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนในห้อง ครูต่องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง

กิจกรรมวันนี้
    จับคู่กัน 2 คน อาจารย์ให้เป้นเด็กพิเศษ 1 คน เด็กปกติ 1คน ให้หยิบสีที่ชอบคนล่ะแท่ง มีกระดาษให้1แผ่น อาจารย์ให้ฟังเสียงดนตรีและลากเส้นห้ามยกสี ส่วนอีกคนให้จุดตามที่เป็นวงกลม จนสิ้นสุดเสียงดนตรี จากนั้นให้นักศึกษาลองมองเส็นที่ขีดนั้นมองเห็นเป็นรูปอะไรบ้าง...



ความรู้ที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช่ได้อย่างไร 
     การส่งเสริมทักษะด้านสังคมให้กับเด็กพิเศษ ในห้องเรียนรวม ควรให้เด็กได้เล่นเป็นกลุ่มเพื่อให้เขารู้จักการแบ่งปัน มีการปรับตัวเขากับสังคม การจักจัดกิจกรรมนั้นควรคำนึงถึงเด็กทุกคนในชั้นเรียน เราสามารถนำความรู้นี้ไปใช้ได้ในสถานการณ์จริง เพราะบางโรงเรียนก็จะมีการเรียนรวมเพื่อเปิดโอกาสให้เด้กได้เรียนรู้ที่เหมือนกัน ครูจึงมีบทบาทสำคัญในการปรับทัศนคติทางสังคมของเด็กพิเศษด้วย และกิจกรรมที่เราทำสามารถนำไปใช้กับเด็กได้ด้วย



                                         

วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
ครั้งที่ 5  เวลาเรียน 13.10 - 16.40.


"วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เพราะห้องเรามีSurprised วันเกิดย้อนหลังของอาจารย์ 
แต่อาจารย์ก็ชี้แจ้งเรื่องข่าวสารต่างๆที่อาจารย์ไปประชุมมาให้นักศึกษาฟัง"



.................................................................................

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
ครั้งที่ 4  เวลาเรียน 11.30 - 14.00.

 กิจกรรมวันนี้
    เริ่มก่อนเข้าบทเรียนอาจารย์ให้วาดรูปดอกลิลลี่ให้เหมือนที่สุดและบอกสิ่งที่เห็นในภาพ?



 สิ่งที่เห็นในภาพ ?
- ตามหลักวิทยาศาสตร์  คือ มีกลีบ6กลีบ จะมีลักษณะเรียว มีสีม่วงชมพูอยู่ตรงกลางและมีลายจุดขอบกลีบจะมีสีขาว มีเกษรสีเหลืองปลายเกษรจะมีสีแดง
- ตามความรู้สึก คือ ดอกลิลลี่เป็นดอกไม้ที่มองแล้วสวยงามก็เปรียบเหมือนความรักที่สดใส คู่รักมักให้กันในโอกาสต่าง ในดอกนั้นจะมีทั้งความสดใสแฝงไปด้วยความเข็มแข็งของเกษรที่เป็นสีแดง

เนื้อหาที่เรียน
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

                                              สิ่งที่ครูไม่ควรทำ

- ครูไม่ควรวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยไม่ทราบข้อเท็จจริง ว่าเด็กเป้นอะไร เราไม่สามารถนำสิ่งเห็นในสิ่งที่เด็กแสดงออกมาคิดเองได้ อาจจะนำไปสู้ความเข้าใจผิด
- ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก หมายถึง การนำปมด้อยเด็กมาเรียกบางครั้งอาจฟังดูน่ารักแต่แม้  จริงแล้วเกิดผลเสียมากว่าผลดี ชื่อจะเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
- ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ  หมายถึง ครูไม่ควรพูดเรื่องไม่ดีของน้องให้ผู้ปกครองฟังเพราะพ่อแม่ของเด็กพิเศษทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหาเขาไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้ สิ่งที่ครูควรทำควรพูดในทางบวกของเด็ก ควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เขาจะได้ทราบว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
                                               สิ่งที่ครูต้องทำ

         ครูสามารถชี้ให้เก็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย สังเกตอย่างเป็นระบบ จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
- สังเกตอย่างมีระบบ ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู ครูเห็นเด็กในสถารการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่าผู้อื่น ต่างจากแพทยื นักจิตวิทยา มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
- การตรวจสอบ จะทำให้ทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร เป้นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างเป็นที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
- ข้อควรระวังในการปฏิบัติ ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้ ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้เพราะพฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปราฎให้เห็นเสมอไป
- การบันทึกการสังเกต
     - การนับอย่างง่ายๆ การนับจำนวนของการเกิดพฤติกรรมกี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่
       ละชั่วโมงของระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
     - การบันทึกต่อเนื่อง จะให้รายละเอียดได้มากเขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง
       หรือช่วงกิจกรรมหนึ่งโดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำหรือช่วยเหลือ
     - การบันทึกไม่ต่อเนื่อง บันทึกลงบัตรเล็กๆ เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็ก
       แต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
- การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคนไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
- การตัดสินใจ ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง คิดให้ดีก่อนพูดออกมา พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้นไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      ข้อควรระวังของครูคือการพูดต้องถนอมความรู้สึกของผู้ปกครอง เราต้องพูดชื่นชมมากว่าการพูดตรงๆ ต้องรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้ปกครอง ไม่มีใครต้องการการตอกย้ำสิ่งที่เป็น ทุกคนย่อมต้องการกำลังใจเมื่อเราเป็นครูเราก็ควรนำไปใช้ ในสิ่งที่ต้องทำ

บรรยากาศในห้องเรียน


เพลงวันนี้               
                             เพลง ฝึกกายบริหาร                    
                    ผู้แต่ง  อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
 ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว





...........................................................................