วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

 
บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 8  เวลาเรียน 13.10 - 16.40.
กิจกรรมและเนื้อหาที่เรียนวันนี้
    - วาดรูปมือของเราข้างที่ไม่ถนัด โดยต้องใส่ถุงมือเพื่อปิดบังลอยของมือเรา อาจารย์ให้วาดให้เหมือนที่สุดทุกลายละเอียด

              "แต่ส่วนใหญ่แล้วเราจะวาดไม่เหมือนกันเลย มืออยู่กับเรามาตั้งแต่เกิด ก็จริง
              เรากับมองข้าม เราไม่เคยรู้เลยว่ามีลอยอะไรบ้างอยู่ที่มือเส้นเลือดมีกี่เส้น"

การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ

ทัศนะของครูและทัศนคติ
- การเข้าใจภาวะปกติ ครูต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กทุกคนต้องรู้ว่าเด็กแต่ละคน
- มีการฝึกอบรมสั้นๆ โดยใช่สื่อต่างๆในการฝึกเพิ่มเติม
- การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของแต่ละคนได้ง่าย

ทัศนคติของครู
- ความยืดหยุ่น ครูสามารถแก้แผนการสอนให้เหมาะกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และสามารถตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญสำหรับเด็กแต่คน
- การใช้สหวิทยาการ ให้คำแนะนำกับบุคคลในอาชึพอื่นๆได้ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้
 เทคนิคการให้แรงเสริม ตรูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤตกรรมอันพึงประสงค์ ละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมไม่พึ่งประสงค์ และควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
    ขั้นตอนการให้แรงเสริม
       -  สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย.
       - วิเคราะห์ กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
       - สอนจากง่ายไปยาก
       - ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
       - ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
       - ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
       - ทีละขั้น ไม่เร่งรัด
       - ไม่ดุหรือตี
 การกำหนดเวลา จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสมกับเวลาไม่ควรมากหรือน้อยเกินไป
 ความต่อเนื่อง พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤตืกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอน การเก็บของ กลับบ้าน
การลดหรือหยุดแรงเสริม
- ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฟติกรรมไม่เหมาะสม
- เอาเด้กออกจากการเล่นไปอยู่คนเดียว
- ทำเป็นไม่สนใจเด็ก
- เอาของเล่นออกไปจากเด็ก

ความรู้ที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร
   สามารถนำไปใช่กับเด็กได้ถ้าเราเจอห้องเรียนรวม เด็กแต่ล่ะคนจะมีนิสัยแตกต่างกันครูต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กทุกคน ควรมองเด็กให้เป็นเด็ก การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเด็กโดยใช้แรงเสริมเพื่อเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ ของเด็กให้ใส่ใจในการเรียนมากขึ้นและให้เขารู้สึกว่าเขาก้ไม่ด้อยไปกว่าคน อื่น ควรให้แรงเสริมเมื่อเด้กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์ แต่ที่เมื่อไรเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ครูควรงดแรงเสริมกับเด็ก

บรรยากาศในห้องเรียน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น