วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 27 เมษยน พ.ศ.2558
ครั้งที่ 16  เวลาเรียน 13.10 - 16.40

สอบร้องเพลง(เดียว)


ความรู้ที่ได้รับ
    เราสามารถนำเพลงไปใช้ได้ในทุกที่ และเป็นประโยชน์แก่เรามากเพราะเราต้องใช่ในช่วงออกฝึกประสบการณ์ยิ่งเรารู้จักเพลงร้องเพลงได้ก็ยิ่งเป็นผลดีแก่ตัวเราเอง พวกเราอาจร้องไม่ค่อยถูกจังหวะทำนองดังนั้นเราควรฝึกต่อไป
บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2558
ครั้งที่ 15  เวลาเรียน13.10 - 16.40

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล(Individualized Education Progran)
แผน IEP คือ แผนการศึกษาที่ร่างขึ้นเพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผนIEP
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
- เด็กสามารถทำอะไรได้/เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
- แล้วจีงเริ่มเขียนแผน IEP

IEPประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำ/ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือนปีที่เริ่มทำการสอนและคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
- เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าฝึกลูกของตนอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่าบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1.การรวบรวมข้อมูล รายงานทางการแพทย์ รายงานการประเมินด้านต่างๆ บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2.การจัดทำแผน ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น กำหนดโปรแกรมและกิจกรรมจะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
3.การใช้แผน เมื่อเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้นนำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและนำมาแยกย่อยขั้นการสอนให้เหมาะสมกับเด็กและจัดเตรียมกิจกรรมการเรียนการสอน
4.การประเมินผล โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้งหรือย่อยกว่านั้นควรมีการกำหนดวิธีการประเมินและเกณฑ์วัดผล ในการประเมอนแต่ล่ะทักษะหรือแต่ละกิจกรรม

กิจกรรมในวันนี้
 แบ่งกลุ่ม 5 คน ช่วยกันคิดช่วยกันทำแผนIEP กลุ่ล่ะ 1ฉบับ ส่งในคาบ

แผนของกลุ่มเรา


ความรู้ที่ได้รับ
    การเขียนแผนIEPเป็นรายบุคคล มีขั้นตอนมากมาย เราต้องศึกษาและทำความเข้าใจอีกเพราะมันแตกต่างจากแผนการสอนปกติ มันมีความละเอียดมากกว่าแผนการสอนปกติ แผนIEPทำให้เรารู้ถึงความบกพร่องจุดเด่นจุดด้อยของเด็ก แล้วยังสามารถนำผลที่ได้มาใช้ในการปรับปรุงพฤติกรรมและแนวทางการเรียนการสอนได้อีกด้วย

บรรยากาศในห้องเรียน

ทำงานกลุ่ม

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2558
ครั้งที่ 14  เวลาเรียน 13.10 - 16.40.


"วันหยุดช่วงวันสงกรานต์"

วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2558
ครั้งที่ 13  เวลาเรียน 13.10 - 16.40.

เนื้อหาที่เรียน
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ : ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

เป้าหมาย
- การช่่วยให้เด็กแต่ล่ะคนเรียนรู้ได้
- มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
- เด็กรู้สึกว่า " ฉันทำได้ "
- พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
- อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ
- ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
- จดจ่อต่อกิจรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร

การเลียนแบบ
- เด็กมักจะดูเพื่อน
- และเลียนแบบคนใกล้ชิด

การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
- เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

การรับรู้ การเคลื่อนไหว
- ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
- ตอบสนองอย่างเหมาะสม

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
- การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
- ต่อบล็อก
- ศิลปะ
- มุมบ้าน
- ช่วยเหลือตนเอง

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
- การจำแนก
- การเรียงลำดับ
- การนับ
- การสังเกต
- ทักษะการเปรียบเทียบ
- การวัด
- รูปทรงและขนาด

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กแต่ล่ะคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ติดชื่อตามที่นั่ง
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
- มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
- เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
- พูดในทางที่ดี
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
- ทำบทเรียนให้สนุก

ความรู้ที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร
    สามารถรู้ถึงการเรียนรู้ของเด็กพิเศษ เราควรจะศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหนังสือหรือแหล่งเรียนรู้ต่างที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนการสอนของห้องเรียนรวมได้ เด็กพิเศษกับเด็กปกติก็มีการเรียนรู้ที่คล้ายๆกันแต่เพียงศักยภาพแตกต่างกัน จึงจำเป็นต่อผู้สอนที่จะส่งเสริมเด็กพิเศษให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

บรรยากาศในห้องเรียน







วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 11  เวลาเรียน 13.10 - 16.40.

เนื้อหาที่เรียน
     วันนี้ทำแบบทดสอบทบทวนความรู้ที่เรียนมา ที่อาจารย์สอนก่อนที่อาทิตย์ถัดไปจะได้เขียนแผน ในแบบทดสอบนั้นเป็นการวัดความรู้ที่เราเรียนมาไม่ได้มีในเนื้อหาแต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับที่เรียนเพราะเป็นสิ่งที่อาจารย์จะยกตัวอย่างมาตลอดถ้าเราตั้งใจเรียนเราก็จะรู้แต่ถ้าเราไม่ได้ฟังในขณะที่เรียนก็จะงง เพราะส่วนใหญ่จะคล้ายๆกันอาจจะทำให้สับสนบ้างแต่เราก็ตั้งใจทำดีที่สุดแล้ว

ความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปประยุกต์ใช้
      ในเวลาเรียนเราก็ควรตั้งใจเรียนตั้งใจฟังเพราะจะได้สามารถทำข้อสอบได้อย่างมั่นใจ ในทุกรายวิชา ในการเรียนการสอนทุกอย่างล้วนสำคัญหมด ผู้สอนทุกคนหวังว่าให้เด็กรู้และเข้าใจทั้งนั้น อีกอย่างก็อยู่ที่ตัวเราเองว่าจะรับมันหรือเปล่า การทบทวนความรู้ที่เรียนมาเป็นสิ่งที่ดีเราอาจจะไม่สามารถจำได้หมดทุกอย่างแต่เราก็สามารถจำได้เป็นบางส่วนอาจจำเนื้อหาที่เรียนไม่ได้แต่จำตัวอย่างที่อาจารย์ยกมาให้ฟังได้ ยากที่จะเข้าใจเนื้อหาที่เรียนที่ไม่มีตัวอย่างเพราะเราไม่สามารถมองเห็นภาพหรือคิดตามได้เลย ทุกครั้งอาจารย์จึงยกตัวอย่างให้เราเข้าใจ จากตรงนี้เราก็สามารถนำไปใช้กับเด็กได้โดยการยกตัวอย่างเหตุการณ์จริงให้เขาคิดตามได้

บรรยากาศในห้องเรียน
อาจารย์อธิบายวิธีการทำข้อสอบ

 
ต่างคนต่างทำข้อสอบ 



วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 10  เวลาเรียน 13.10 - 16.40.
เนื้อหาที่เรียน
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ : ทักษะการข่วยเหลือตนเอง
      หมายถึง เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด เด็กต้องคิดเองททำเอง การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ
  - เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  - อยากทำงานตามความสามารภ
  - เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อนและเด็กที่โตกว่าหรือผู้ใหญ่

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
  -  การได้ทำด้วยตนเอง
  - เชื่อมั่นในตนเอง
  - เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง
  - ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น(ใจแข็ง)
  - ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
  - ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
  - "หนูทำช้า" หนูยังทำไม่ได้"

จะช่วยเมื่อไหร่
 - เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย
 - หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
 - เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะที่เด็กต้องการ
 - มักช่วยเด็กในช่วงกกิจกรรม

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
 - แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
 - เรียงลำดับตามขั้นตอน
 - แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยให้มากที่สุด

 กิจกกรมในวันนี้
      เป็นกิจกรรมเดี่ยว อาจารย์ให้กระดาษคนล่ะแผ่นและให้ระบายสีเป็นวงกลม กี่ชั้นก็แล้วแต่เรา
จากนั้นก็ตัดออกให้เป็นวงกลมวงเดียว

ผลงานของฉัน
 
ผลงานของฉัน
      เสร็จเรียบร้อยแล้วทุกคน อาจารย์ก็ให้นำไปติดไว้ที่ต้น ที่อาจารย์เตรียมมาให้ เพื่อดูว่าพวกเราทุกคนสามัคคีกันมากน้อยแค่ไหน เป็นกิจกรรมที่บอกถึงตัวตนของพวกเรา สิ่งที่ออกมาคือพวกเราสามัคคีกันมีความเกรงใจซึ่งกันและกัน

ต้มไม้ห้องเรียนเรา

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
    เราต้องหัดให้เด็กคิดเองทำเองในส่วนที่เด็กควรจะทำ ในชีวิตประจำวัน โดยการเปิดอิสระให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเอง ทำในสิ่งที่เขาอยากทำ เด็กเขาจะเลียนแบบเพื่อ เลียนแบบผู้ใหญ่ เมื่อเด็กทำได้เขาจะรู้สึกภูมิใจในตนเองเมื่อเขาทำได้และจะทำให้เขามีความเชื่อมั่นในตนเองด้วย เราจะช่วยเด็กได้ก็ต่อเมื่อบางครั้งเด็กไม่สนุกด้วย หรือบางกิจกรรมที่เห้นสมควร โดยการย่อยงานแบ่งเป็นขั้นๆ อย่างไรก็ตามทักษะการช่วยเหลือตนเองสามารถใช้กับเด็กได้ทุกประเภทในการเรียนนั้นจะบอกถึงเด็กพิเศษแต่เด็กปกติก็เช่นเดียวกันถ้าเขาไม่ได้ทำเองเขาก็จะไม่ยอมทำอะไรเองเลยและส่งผลให้ช้ากว่าเพื่อในวัยเดียวกันจึงเป็นผลดีสำหรับห้องเรียนรวมที่จะหัดให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด

บรรยากาศในห้องเรียน




วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 9  เวลาเรียน 13.10 - 16.40.

เนื้อหาที่เรียน
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ : ทักษะภาษา
1.การวัดความสามารถทางภาษา
- เด็กเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- สนทนามีการตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยหรือเปล่า
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- เด็กสามารถบอกเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้หรือไม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
2.การออกเสียงผิดหรือพูดไม่ชัด
- การพูดตกหล่นของประโยค
- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
- ติดอ่าง พูดติดขัด
3.การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
       ไม่ควรสนใจการพูดของเด็กในการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้าๆ"
"ตามสบาย" "คิดก่อนพูด" เพราะจะทำให้เด็กขาดความมั่นใจที่จะพูดอีก และไม่ควรไปขัดจังหวะขณะเด็กกำลังพูด สิ่งที่สำคัญคือไม่ควรเปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น และเด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
4. ทักษะพื้นฐานทางภาษา
   - ทักษะการรับรู้ภาษา
   - การแสดงออกทางภาษา
   - การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
5.ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
     ครูควรเป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไวแต่ครูก็ไม่ควรพูดมากเกินไป  ให้เวลาเด็กได้พูดได้แสดงออก ส่วนครุก็คอยโต้ตอบชี้แนะหากจำเป็น เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว การแสดงออกของครูก็เป็นส่วนที่เด็กเลียนแบบและเรียนรู้ไปพร้อมกับภาษาการฟัง การพูด จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะให้เด็กพิเศษได้ทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน ครูควรกระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเองครูไม่ควรคาดการณ์ล่วงหน้า เน้นการสื่อความหมายมากกว่าการพูดโดยตรง เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่เขาก้ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
6.การสอนตามเหตุการณ์(Incidental Teaching)


     ดังภาพเราจะเห็นได้ว่าเด็กกำลังติดกระดุมอยู่ เมื่อครูดูเหตุการณ์นี้มาสักพักก็จะเขาไปถาม"ทำอะไรอยู่ค่ะ"ถามจนกว่าจะตอบถ้าไม่ตอบครูก็ควรช่วย "ติดกระดุมอยู่หรอเดี๋ยวครูช่วยนะ" ตอนทำกระจับมือเด็กทำไปพร้อมกัน ส่วนใหญ่จะใช้ในห้องเรียนรวม การสอนตามเหตุการณ์ เป็นการสอนตามลำดับเหตุการณ์จากเริ่มจนจบ

 กิจกรรมวันนี้
     อาจารย์ให้จับคู่กันและหยิบสีคนล่ะสี มีกระดาษอยู่คู่ล่ะแผ่น อาจารย์ให้นักศึกษาฟังเสียงดนตรีและขีดเส้นตรงไปมาตามจังหวะของดนตรีที่บรรเลงตั้งแต่ต้นจนจบโดยห้ามยกสีขึ้น

            เส้นสามารถบอกความเป้นตัวตนของแต่ละคนได้ เส้นสื่อถึงความคิด
          เส้นเยอะก็คิดมาก เส้นปกติก็ไม่ค่อยคิดอะไรเลย

ผลงานของเพื่อนๆ



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
        ภาษาของเด็กไม่ใช่แค่การฟัง การพูด แต่การแสดงออกท่าทางก็เป็นภาษาเช่นกันเด็กจะเรียนรู้จากการลอกเลียนแบบ เมื่อเขาเห็นครูทำอย่างไรก็จะทำตาม ครูควรเป็นผู้ฟังที่ดีสำหรับเด็กไม่ควรขัดจังหวะในขณะที่เขากำลังพูด หรือไม่ควรบอกตำหนิเขา จะทำให้เขาขาดความมั่นใจและไม่กล้าพูดในครั้งต่อไป ครูควรโต้ตอบกับเด็กเมื่อเขาสนทนาด้วย ควรเน้นการสื่อความหมายมากกว่าการบอกเด็กตรงๆเพื่อให้เขาได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้น กิจกรรมที่ทำก็สามารถนำมาใช้กับเด็กได้เช่นกันเด็กอาจทำำได้ดีกว่าเราเพราะเขาทำด้วยความจริงไม่หวงเล่นเหมือนพวกเรา ส่วนใหญ่พวกเราชอบคิดล่วงหน้า แต่เด็กเขาจะทำความจริง พูดออกมาแต่ความจริง

บรรยากาศในห้องเรียน