วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 27 เมษยน พ.ศ.2558
ครั้งที่ 16  เวลาเรียน 13.10 - 16.40

สอบร้องเพลง(เดียว)


ความรู้ที่ได้รับ
    เราสามารถนำเพลงไปใช้ได้ในทุกที่ และเป็นประโยชน์แก่เรามากเพราะเราต้องใช่ในช่วงออกฝึกประสบการณ์ยิ่งเรารู้จักเพลงร้องเพลงได้ก็ยิ่งเป็นผลดีแก่ตัวเราเอง พวกเราอาจร้องไม่ค่อยถูกจังหวะทำนองดังนั้นเราควรฝึกต่อไป
บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2558
ครั้งที่ 15  เวลาเรียน13.10 - 16.40

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล(Individualized Education Progran)
แผน IEP คือ แผนการศึกษาที่ร่างขึ้นเพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผนIEP
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
- เด็กสามารถทำอะไรได้/เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
- แล้วจีงเริ่มเขียนแผน IEP

IEPประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำ/ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือนปีที่เริ่มทำการสอนและคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
- เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าฝึกลูกของตนอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่าบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1.การรวบรวมข้อมูล รายงานทางการแพทย์ รายงานการประเมินด้านต่างๆ บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2.การจัดทำแผน ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น กำหนดโปรแกรมและกิจกรรมจะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
3.การใช้แผน เมื่อเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้นนำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและนำมาแยกย่อยขั้นการสอนให้เหมาะสมกับเด็กและจัดเตรียมกิจกรรมการเรียนการสอน
4.การประเมินผล โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้งหรือย่อยกว่านั้นควรมีการกำหนดวิธีการประเมินและเกณฑ์วัดผล ในการประเมอนแต่ล่ะทักษะหรือแต่ละกิจกรรม

กิจกรรมในวันนี้
 แบ่งกลุ่ม 5 คน ช่วยกันคิดช่วยกันทำแผนIEP กลุ่ล่ะ 1ฉบับ ส่งในคาบ

แผนของกลุ่มเรา


ความรู้ที่ได้รับ
    การเขียนแผนIEPเป็นรายบุคคล มีขั้นตอนมากมาย เราต้องศึกษาและทำความเข้าใจอีกเพราะมันแตกต่างจากแผนการสอนปกติ มันมีความละเอียดมากกว่าแผนการสอนปกติ แผนIEPทำให้เรารู้ถึงความบกพร่องจุดเด่นจุดด้อยของเด็ก แล้วยังสามารถนำผลที่ได้มาใช้ในการปรับปรุงพฤติกรรมและแนวทางการเรียนการสอนได้อีกด้วย

บรรยากาศในห้องเรียน

ทำงานกลุ่ม

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2558
ครั้งที่ 14  เวลาเรียน 13.10 - 16.40.


"วันหยุดช่วงวันสงกรานต์"

วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2558
ครั้งที่ 13  เวลาเรียน 13.10 - 16.40.

เนื้อหาที่เรียน
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ : ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

เป้าหมาย
- การช่่วยให้เด็กแต่ล่ะคนเรียนรู้ได้
- มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
- เด็กรู้สึกว่า " ฉันทำได้ "
- พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
- อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ
- ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
- จดจ่อต่อกิจรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร

การเลียนแบบ
- เด็กมักจะดูเพื่อน
- และเลียนแบบคนใกล้ชิด

การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
- เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

การรับรู้ การเคลื่อนไหว
- ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
- ตอบสนองอย่างเหมาะสม

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
- การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
- ต่อบล็อก
- ศิลปะ
- มุมบ้าน
- ช่วยเหลือตนเอง

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
- การจำแนก
- การเรียงลำดับ
- การนับ
- การสังเกต
- ทักษะการเปรียบเทียบ
- การวัด
- รูปทรงและขนาด

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กแต่ล่ะคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ติดชื่อตามที่นั่ง
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
- มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
- เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
- พูดในทางที่ดี
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
- ทำบทเรียนให้สนุก

ความรู้ที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร
    สามารถรู้ถึงการเรียนรู้ของเด็กพิเศษ เราควรจะศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหนังสือหรือแหล่งเรียนรู้ต่างที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนการสอนของห้องเรียนรวมได้ เด็กพิเศษกับเด็กปกติก็มีการเรียนรู้ที่คล้ายๆกันแต่เพียงศักยภาพแตกต่างกัน จึงจำเป็นต่อผู้สอนที่จะส่งเสริมเด็กพิเศษให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

บรรยากาศในห้องเรียน







วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 11  เวลาเรียน 13.10 - 16.40.

เนื้อหาที่เรียน
     วันนี้ทำแบบทดสอบทบทวนความรู้ที่เรียนมา ที่อาจารย์สอนก่อนที่อาทิตย์ถัดไปจะได้เขียนแผน ในแบบทดสอบนั้นเป็นการวัดความรู้ที่เราเรียนมาไม่ได้มีในเนื้อหาแต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับที่เรียนเพราะเป็นสิ่งที่อาจารย์จะยกตัวอย่างมาตลอดถ้าเราตั้งใจเรียนเราก็จะรู้แต่ถ้าเราไม่ได้ฟังในขณะที่เรียนก็จะงง เพราะส่วนใหญ่จะคล้ายๆกันอาจจะทำให้สับสนบ้างแต่เราก็ตั้งใจทำดีที่สุดแล้ว

ความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปประยุกต์ใช้
      ในเวลาเรียนเราก็ควรตั้งใจเรียนตั้งใจฟังเพราะจะได้สามารถทำข้อสอบได้อย่างมั่นใจ ในทุกรายวิชา ในการเรียนการสอนทุกอย่างล้วนสำคัญหมด ผู้สอนทุกคนหวังว่าให้เด็กรู้และเข้าใจทั้งนั้น อีกอย่างก็อยู่ที่ตัวเราเองว่าจะรับมันหรือเปล่า การทบทวนความรู้ที่เรียนมาเป็นสิ่งที่ดีเราอาจจะไม่สามารถจำได้หมดทุกอย่างแต่เราก็สามารถจำได้เป็นบางส่วนอาจจำเนื้อหาที่เรียนไม่ได้แต่จำตัวอย่างที่อาจารย์ยกมาให้ฟังได้ ยากที่จะเข้าใจเนื้อหาที่เรียนที่ไม่มีตัวอย่างเพราะเราไม่สามารถมองเห็นภาพหรือคิดตามได้เลย ทุกครั้งอาจารย์จึงยกตัวอย่างให้เราเข้าใจ จากตรงนี้เราก็สามารถนำไปใช้กับเด็กได้โดยการยกตัวอย่างเหตุการณ์จริงให้เขาคิดตามได้

บรรยากาศในห้องเรียน
อาจารย์อธิบายวิธีการทำข้อสอบ

 
ต่างคนต่างทำข้อสอบ 



วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 10  เวลาเรียน 13.10 - 16.40.
เนื้อหาที่เรียน
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ : ทักษะการข่วยเหลือตนเอง
      หมายถึง เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด เด็กต้องคิดเองททำเอง การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ
  - เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  - อยากทำงานตามความสามารภ
  - เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อนและเด็กที่โตกว่าหรือผู้ใหญ่

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
  -  การได้ทำด้วยตนเอง
  - เชื่อมั่นในตนเอง
  - เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง
  - ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น(ใจแข็ง)
  - ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
  - ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
  - "หนูทำช้า" หนูยังทำไม่ได้"

จะช่วยเมื่อไหร่
 - เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย
 - หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
 - เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะที่เด็กต้องการ
 - มักช่วยเด็กในช่วงกกิจกรรม

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
 - แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
 - เรียงลำดับตามขั้นตอน
 - แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยให้มากที่สุด

 กิจกกรมในวันนี้
      เป็นกิจกรรมเดี่ยว อาจารย์ให้กระดาษคนล่ะแผ่นและให้ระบายสีเป็นวงกลม กี่ชั้นก็แล้วแต่เรา
จากนั้นก็ตัดออกให้เป็นวงกลมวงเดียว

ผลงานของฉัน
 
ผลงานของฉัน
      เสร็จเรียบร้อยแล้วทุกคน อาจารย์ก็ให้นำไปติดไว้ที่ต้น ที่อาจารย์เตรียมมาให้ เพื่อดูว่าพวกเราทุกคนสามัคคีกันมากน้อยแค่ไหน เป็นกิจกรรมที่บอกถึงตัวตนของพวกเรา สิ่งที่ออกมาคือพวกเราสามัคคีกันมีความเกรงใจซึ่งกันและกัน

ต้มไม้ห้องเรียนเรา

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
    เราต้องหัดให้เด็กคิดเองทำเองในส่วนที่เด็กควรจะทำ ในชีวิตประจำวัน โดยการเปิดอิสระให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเอง ทำในสิ่งที่เขาอยากทำ เด็กเขาจะเลียนแบบเพื่อ เลียนแบบผู้ใหญ่ เมื่อเด็กทำได้เขาจะรู้สึกภูมิใจในตนเองเมื่อเขาทำได้และจะทำให้เขามีความเชื่อมั่นในตนเองด้วย เราจะช่วยเด็กได้ก็ต่อเมื่อบางครั้งเด็กไม่สนุกด้วย หรือบางกิจกรรมที่เห้นสมควร โดยการย่อยงานแบ่งเป็นขั้นๆ อย่างไรก็ตามทักษะการช่วยเหลือตนเองสามารถใช้กับเด็กได้ทุกประเภทในการเรียนนั้นจะบอกถึงเด็กพิเศษแต่เด็กปกติก็เช่นเดียวกันถ้าเขาไม่ได้ทำเองเขาก็จะไม่ยอมทำอะไรเองเลยและส่งผลให้ช้ากว่าเพื่อในวัยเดียวกันจึงเป็นผลดีสำหรับห้องเรียนรวมที่จะหัดให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด

บรรยากาศในห้องเรียน




วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 9  เวลาเรียน 13.10 - 16.40.

เนื้อหาที่เรียน
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ : ทักษะภาษา
1.การวัดความสามารถทางภาษา
- เด็กเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- สนทนามีการตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยหรือเปล่า
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- เด็กสามารถบอกเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้หรือไม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
2.การออกเสียงผิดหรือพูดไม่ชัด
- การพูดตกหล่นของประโยค
- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
- ติดอ่าง พูดติดขัด
3.การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
       ไม่ควรสนใจการพูดของเด็กในการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้าๆ"
"ตามสบาย" "คิดก่อนพูด" เพราะจะทำให้เด็กขาดความมั่นใจที่จะพูดอีก และไม่ควรไปขัดจังหวะขณะเด็กกำลังพูด สิ่งที่สำคัญคือไม่ควรเปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น และเด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
4. ทักษะพื้นฐานทางภาษา
   - ทักษะการรับรู้ภาษา
   - การแสดงออกทางภาษา
   - การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
5.ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
     ครูควรเป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไวแต่ครูก็ไม่ควรพูดมากเกินไป  ให้เวลาเด็กได้พูดได้แสดงออก ส่วนครุก็คอยโต้ตอบชี้แนะหากจำเป็น เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว การแสดงออกของครูก็เป็นส่วนที่เด็กเลียนแบบและเรียนรู้ไปพร้อมกับภาษาการฟัง การพูด จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะให้เด็กพิเศษได้ทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน ครูควรกระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเองครูไม่ควรคาดการณ์ล่วงหน้า เน้นการสื่อความหมายมากกว่าการพูดโดยตรง เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่เขาก้ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
6.การสอนตามเหตุการณ์(Incidental Teaching)


     ดังภาพเราจะเห็นได้ว่าเด็กกำลังติดกระดุมอยู่ เมื่อครูดูเหตุการณ์นี้มาสักพักก็จะเขาไปถาม"ทำอะไรอยู่ค่ะ"ถามจนกว่าจะตอบถ้าไม่ตอบครูก็ควรช่วย "ติดกระดุมอยู่หรอเดี๋ยวครูช่วยนะ" ตอนทำกระจับมือเด็กทำไปพร้อมกัน ส่วนใหญ่จะใช้ในห้องเรียนรวม การสอนตามเหตุการณ์ เป็นการสอนตามลำดับเหตุการณ์จากเริ่มจนจบ

 กิจกรรมวันนี้
     อาจารย์ให้จับคู่กันและหยิบสีคนล่ะสี มีกระดาษอยู่คู่ล่ะแผ่น อาจารย์ให้นักศึกษาฟังเสียงดนตรีและขีดเส้นตรงไปมาตามจังหวะของดนตรีที่บรรเลงตั้งแต่ต้นจนจบโดยห้ามยกสีขึ้น

            เส้นสามารถบอกความเป้นตัวตนของแต่ละคนได้ เส้นสื่อถึงความคิด
          เส้นเยอะก็คิดมาก เส้นปกติก็ไม่ค่อยคิดอะไรเลย

ผลงานของเพื่อนๆ



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
        ภาษาของเด็กไม่ใช่แค่การฟัง การพูด แต่การแสดงออกท่าทางก็เป็นภาษาเช่นกันเด็กจะเรียนรู้จากการลอกเลียนแบบ เมื่อเขาเห็นครูทำอย่างไรก็จะทำตาม ครูควรเป็นผู้ฟังที่ดีสำหรับเด็กไม่ควรขัดจังหวะในขณะที่เขากำลังพูด หรือไม่ควรบอกตำหนิเขา จะทำให้เขาขาดความมั่นใจและไม่กล้าพูดในครั้งต่อไป ครูควรโต้ตอบกับเด็กเมื่อเขาสนทนาด้วย ควรเน้นการสื่อความหมายมากกว่าการบอกเด็กตรงๆเพื่อให้เขาได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้น กิจกรรมที่ทำก็สามารถนำมาใช้กับเด็กได้เช่นกันเด็กอาจทำำได้ดีกว่าเราเพราะเขาทำด้วยความจริงไม่หวงเล่นเหมือนพวกเรา ส่วนใหญ่พวกเราชอบคิดล่วงหน้า แต่เด็กเขาจะทำความจริง พูดออกมาแต่ความจริง

บรรยากาศในห้องเรียน

วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

 
บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 8  เวลาเรียน 13.10 - 16.40.
กิจกรรมและเนื้อหาที่เรียนวันนี้
    - วาดรูปมือของเราข้างที่ไม่ถนัด โดยต้องใส่ถุงมือเพื่อปิดบังลอยของมือเรา อาจารย์ให้วาดให้เหมือนที่สุดทุกลายละเอียด

              "แต่ส่วนใหญ่แล้วเราจะวาดไม่เหมือนกันเลย มืออยู่กับเรามาตั้งแต่เกิด ก็จริง
              เรากับมองข้าม เราไม่เคยรู้เลยว่ามีลอยอะไรบ้างอยู่ที่มือเส้นเลือดมีกี่เส้น"

การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ

ทัศนะของครูและทัศนคติ
- การเข้าใจภาวะปกติ ครูต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กทุกคนต้องรู้ว่าเด็กแต่ละคน
- มีการฝึกอบรมสั้นๆ โดยใช่สื่อต่างๆในการฝึกเพิ่มเติม
- การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของแต่ละคนได้ง่าย

ทัศนคติของครู
- ความยืดหยุ่น ครูสามารถแก้แผนการสอนให้เหมาะกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และสามารถตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญสำหรับเด็กแต่คน
- การใช้สหวิทยาการ ให้คำแนะนำกับบุคคลในอาชึพอื่นๆได้ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้
 เทคนิคการให้แรงเสริม ตรูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤตกรรมอันพึงประสงค์ ละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมไม่พึ่งประสงค์ และควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
    ขั้นตอนการให้แรงเสริม
       -  สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย.
       - วิเคราะห์ กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
       - สอนจากง่ายไปยาก
       - ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
       - ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
       - ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
       - ทีละขั้น ไม่เร่งรัด
       - ไม่ดุหรือตี
 การกำหนดเวลา จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสมกับเวลาไม่ควรมากหรือน้อยเกินไป
 ความต่อเนื่อง พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤตืกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอน การเก็บของ กลับบ้าน
การลดหรือหยุดแรงเสริม
- ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฟติกรรมไม่เหมาะสม
- เอาเด้กออกจากการเล่นไปอยู่คนเดียว
- ทำเป็นไม่สนใจเด็ก
- เอาของเล่นออกไปจากเด็ก

ความรู้ที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร
   สามารถนำไปใช่กับเด็กได้ถ้าเราเจอห้องเรียนรวม เด็กแต่ล่ะคนจะมีนิสัยแตกต่างกันครูต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กทุกคน ควรมองเด็กให้เป็นเด็ก การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเด็กโดยใช้แรงเสริมเพื่อเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ ของเด็กให้ใส่ใจในการเรียนมากขึ้นและให้เขารู้สึกว่าเขาก้ไม่ด้อยไปกว่าคน อื่น ควรให้แรงเสริมเมื่อเด้กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์ แต่ที่เมื่อไรเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ครูควรงดแรงเสริมกับเด็ก

บรรยากาศในห้องเรียน


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
ครั้งที่ 7  เวลาเรียน 13.10 - 16.40




"ไม่มีการเรียนการสอน
อยู่ในช่วงสอบกลางภาค"

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 13.10 - 16.40.

เนื้อหากิจกรรมที่เรียน
    ก่อนเข้าบทเรียนอาจารย์ให้เล่นเกมก่อน "เกม รถไฟเหาะ" จะเป็นลักษณะที่จะให้เราดูภาพเครื่องเล่นต่างๆ มีอยู่ 5ข้อให้เราตอบเมื่อเห็นภาพให้นึกถึงเหตุการณ์ถ้าเราไปอยู่จุดนั้นเราจะรู้สึกอย่างไรบ้าง จากนั้นก็มาเฉลยคำตอบเป็นคำตอบที่บ่งบอกนิสัยของแต่ล่ะคนนั่นเอง...

                                         การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะทางสังคม
   เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่ การอยู่ในสถาภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข ควรปรับที่เด็กสภาพแวดล้อมไม่มีผลต่การปรับตัวเด็ก
  - กิจกรรมการเล่น
     การเล่นเป้นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อนแต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ เขาจะเข้าไปสัมผัส
  - ยุทธศาสตร์การสอน
      เด็กพิเศษบางคนยังไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร ครูต้องเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กเป็นรายบุคคลอย่างเป็นระบบ ถึงจะทราบได้ว่าเด็กแต่ล่ะคนมีทักษะการเล่นอย่างไรบ้าง และนำมาจดบันทึก ทำแผน IEP
  - การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
     ควรวางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง และคำนึงถึงเด็กทุกคน ให้เด็กเล่น
เป็นกลุ่มๆ 2 -4 คน เด็กปกติทำหน้าที่เหมือนครูให้เด็กพิเศษ เด็กจะเลียนแบบเพื่อนรอบข้าง
 - ครูควรปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
     อยู่ใกล้ๆและเฝ้ามองอย่างสนใจ ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาถามครู ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป จะทำให้สมาธิของเด็กชะงัก เขาจะเปลี่ยนความคิดตัวเอง ควรให้ความคิดเห็นเป็นแรงเสริม
 - การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
     ครูพูดชักชวนเด็กให้เด็กเล่นร่วมกับเพื่อน ทำโดย การพูดนำของครู  ของเด็กทั้ง 2ฝ่าย ทั้งเด็กปกติและเด็กพิเศษ ให้เด็กรู้จักการแบ่งปันเอื้อเฝื้อซึ่งกันและกัน
 - ช่วยเด็กทุกคนให้รู้เกณฑ์
     ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ เพราะเด็กพิเศษเขาจะยึดตัวเองเป็นหลักต้องคอยบอกค่อยๆเป็นค่อยๆไป การให้โอกาสเด็กทุกคนมีส่วนรวม แสดงความคิดเห็น เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนในห้อง ครูต่องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง

กิจกรรมวันนี้
    จับคู่กัน 2 คน อาจารย์ให้เป้นเด็กพิเศษ 1 คน เด็กปกติ 1คน ให้หยิบสีที่ชอบคนล่ะแท่ง มีกระดาษให้1แผ่น อาจารย์ให้ฟังเสียงดนตรีและลากเส้นห้ามยกสี ส่วนอีกคนให้จุดตามที่เป็นวงกลม จนสิ้นสุดเสียงดนตรี จากนั้นให้นักศึกษาลองมองเส็นที่ขีดนั้นมองเห็นเป็นรูปอะไรบ้าง...



ความรู้ที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช่ได้อย่างไร 
     การส่งเสริมทักษะด้านสังคมให้กับเด็กพิเศษ ในห้องเรียนรวม ควรให้เด็กได้เล่นเป็นกลุ่มเพื่อให้เขารู้จักการแบ่งปัน มีการปรับตัวเขากับสังคม การจักจัดกิจกรรมนั้นควรคำนึงถึงเด็กทุกคนในชั้นเรียน เราสามารถนำความรู้นี้ไปใช้ได้ในสถานการณ์จริง เพราะบางโรงเรียนก็จะมีการเรียนรวมเพื่อเปิดโอกาสให้เด้กได้เรียนรู้ที่เหมือนกัน ครูจึงมีบทบาทสำคัญในการปรับทัศนคติทางสังคมของเด็กพิเศษด้วย และกิจกรรมที่เราทำสามารถนำไปใช้กับเด็กได้ด้วย



                                         

วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
ครั้งที่ 5  เวลาเรียน 13.10 - 16.40.


"วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เพราะห้องเรามีSurprised วันเกิดย้อนหลังของอาจารย์ 
แต่อาจารย์ก็ชี้แจ้งเรื่องข่าวสารต่างๆที่อาจารย์ไปประชุมมาให้นักศึกษาฟัง"



.................................................................................

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
ครั้งที่ 4  เวลาเรียน 11.30 - 14.00.

 กิจกรรมวันนี้
    เริ่มก่อนเข้าบทเรียนอาจารย์ให้วาดรูปดอกลิลลี่ให้เหมือนที่สุดและบอกสิ่งที่เห็นในภาพ?



 สิ่งที่เห็นในภาพ ?
- ตามหลักวิทยาศาสตร์  คือ มีกลีบ6กลีบ จะมีลักษณะเรียว มีสีม่วงชมพูอยู่ตรงกลางและมีลายจุดขอบกลีบจะมีสีขาว มีเกษรสีเหลืองปลายเกษรจะมีสีแดง
- ตามความรู้สึก คือ ดอกลิลลี่เป็นดอกไม้ที่มองแล้วสวยงามก็เปรียบเหมือนความรักที่สดใส คู่รักมักให้กันในโอกาสต่าง ในดอกนั้นจะมีทั้งความสดใสแฝงไปด้วยความเข็มแข็งของเกษรที่เป็นสีแดง

เนื้อหาที่เรียน
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

                                              สิ่งที่ครูไม่ควรทำ

- ครูไม่ควรวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยไม่ทราบข้อเท็จจริง ว่าเด็กเป้นอะไร เราไม่สามารถนำสิ่งเห็นในสิ่งที่เด็กแสดงออกมาคิดเองได้ อาจจะนำไปสู้ความเข้าใจผิด
- ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก หมายถึง การนำปมด้อยเด็กมาเรียกบางครั้งอาจฟังดูน่ารักแต่แม้  จริงแล้วเกิดผลเสียมากว่าผลดี ชื่อจะเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
- ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ  หมายถึง ครูไม่ควรพูดเรื่องไม่ดีของน้องให้ผู้ปกครองฟังเพราะพ่อแม่ของเด็กพิเศษทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหาเขาไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้ สิ่งที่ครูควรทำควรพูดในทางบวกของเด็ก ควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เขาจะได้ทราบว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
                                               สิ่งที่ครูต้องทำ

         ครูสามารถชี้ให้เก็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย สังเกตอย่างเป็นระบบ จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
- สังเกตอย่างมีระบบ ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู ครูเห็นเด็กในสถารการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่าผู้อื่น ต่างจากแพทยื นักจิตวิทยา มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
- การตรวจสอบ จะทำให้ทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร เป้นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างเป็นที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
- ข้อควรระวังในการปฏิบัติ ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้ ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้เพราะพฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปราฎให้เห็นเสมอไป
- การบันทึกการสังเกต
     - การนับอย่างง่ายๆ การนับจำนวนของการเกิดพฤติกรรมกี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่
       ละชั่วโมงของระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
     - การบันทึกต่อเนื่อง จะให้รายละเอียดได้มากเขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง
       หรือช่วงกิจกรรมหนึ่งโดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำหรือช่วยเหลือ
     - การบันทึกไม่ต่อเนื่อง บันทึกลงบัตรเล็กๆ เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็ก
       แต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
- การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคนไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
- การตัดสินใจ ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง คิดให้ดีก่อนพูดออกมา พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้นไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      ข้อควรระวังของครูคือการพูดต้องถนอมความรู้สึกของผู้ปกครอง เราต้องพูดชื่นชมมากว่าการพูดตรงๆ ต้องรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้ปกครอง ไม่มีใครต้องการการตอกย้ำสิ่งที่เป็น ทุกคนย่อมต้องการกำลังใจเมื่อเราเป็นครูเราก็ควรนำไปใช้ ในสิ่งที่ต้องทำ

บรรยากาศในห้องเรียน


เพลงวันนี้               
                             เพลง ฝึกกายบริหาร                    
                    ผู้แต่ง  อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
 ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว





...........................................................................

วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 3  เวลาเรียน 11.30 - 14.00.




ไม่มีการเรียนการสอน
"เนื่องจากอาจารย์ติดสัมมนาทางวิชาการ"


วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 2  เวลาเรียน 11.30 - 14.00.
เนื้อหา/กิจกรรม
      รูปแบบการจัดการศึกษา
- การศึกษาปกติทั่วไป(Regular Education)
- การศึกษาพิเศษ(Special Education)
- การศึกษาแบบเรียนร่วม(Integrated Education หรือ Mainstreaming)
- การศึกษาแบบเรียนรวม(Integrated Education )

การศึกษาแบบเรียนร่วม(Integrated Education หรือ Mainstreaming)
     หมายถึง การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปเรียนกับเด็กปกติในระบบการศึกษาทั่วไป มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน โดยใช้ช่วงเวลาใดช่วงหนึ่งในแต่ล่ะวัน จะมีครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมกัน การเรียนร่มจะมี 2 ลักษณะ
1.การเรียนร่วมบางเวลา(Integration)
          คือการจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ เด็กกลุ่มนี้จะเป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการในระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
2.การเรียนร่วมเต็มเวลา(Mainstreaming)
      คือการจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่โรงเรียน เด็กพิเศษได้รับการจักกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ มีการใช้หลักสูตรปกติ มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน

การศึกษาแบบเรียนรวม(Integrated Education )
      หมายถึงเป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้าเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กเป็นคนเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก

ความหมายการศึกษาแบบเรียนรวม(แบบสากล)
           "Integrated Education  is Education for all,It involves receiving people at the beginning of their education,with provision of additional services needed by each individual"
           "การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาสำหรับทุกคนที่ต้องได้รับการศึกษาตั้งแต่เริ่มต้นและต้องจัดให้เหมาะสมสำหรับทุกคน"
  
ความสำคัญของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
- เด็กปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้
- เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
- สอนได้

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      การศึกษาแบบเรียนร่วมกับการศึกาาแบบเรียนรวมแตกต่างกันตรงที่การศึกษาแบบเรียนรวมเด็กจะได้รับการศึกษาตั้งแต่เริ่มต้นเหมือนกับเด็กปกติทั่วไป แต่การศึกษาแบบเรียนร่วมนั้นจะมีเป็นวางเวลา ในการจัดการสึกษาแบบเรียนรวมนั้นสิ่งแรกที่เราต้องทำคือการให้ความรักความอบอุ่นกับเด็กพิเศษให้เท่าเทียมกับเด็กปกติ และสอนให้เด็กปกติทุกคนเข้าใจในตัวเด็กพิเศษให้มีความเท่าเทียมและเสมอภาคกันเพื่อให้เด็กพิเศษรู้สึกปลอดภัยเมื่อได้อยู่กับเรา

บรรยากาศในห้องเรียน

เพลงวันนี้


เพลงแปรงฟัน
                                                                   ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
ตื่นเช้าเราแปรงฟัน
กินอาหารแล้วเราแปรงฟัน
ก่อนนอนเราแปรงฟัน
ฟันสะอาดขาวเป็นเงางาม
แปรงฟันที่ถูกวิธี ดูซิต้องแปรงขึ้นลง
แปรงฟันที่ถูกวิธี ดูซิต้องแปรงขึ้นลง

เพลงอาบน้ำ
                                                                       ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
อาบน้ำซู่ซ่า ล้างหน้าล้างตา
ฟอกสบู่ถูตัว ชำระเหงื่อไคล
ราดน้ำให้ทั่ว เสร็จแล้วเช็ดตัว
อย่าให้ขุ่นมัว สุขกายสบายใจ

เพลงพี่น้องกัน
                                                                          ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
บ้านของฉันอยู่ดัวยกันมากหลาย
พ่อ แม่ ปู่ ย่า ลุง ป้า ตา ยาย
มีทั้งน้า อา พี่และน้องมากมาย
ทุกคนสุขสบาย เราเป็นพี่น้องกัน

เพลง มาโรงเรียน
                                                                        ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
เรามาโรงเรียน เราเขียนเราอ่าน
ครูเล่านิทานสนุกถูกใจ
เราเรียนเราเล่น เราเป็นสุขใจ
ร่าเริงแจ่มใสเมื่อเรามาโรงเรียน

............................................................................................

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 11.30 - 14.00.
เนื้อหา/กิจกรรม
    ทบทวนความรู้เดิมจากเทอมที่ผ่านมาในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กพิเศษว่านักศึกษายังมีความรู้เดิมมากน้อยเพียงใด เพราะในรายวิชาการศึกาาก็มีส่วนที่เกี่ยวข้องเช่นกันจึงมีความจำเป็นที่เราต้องศึกษาอยู่และควรทบทวน
 เริ่มต้นก่อนเรียนอาจารย์ให้ทำแบบทดสอบก่อนเรียน...เพื่อทดสอบความจำและประสบการณ์เดิมของนักศึกษา จากนั้นก็ให้เราหัดร้องเพลง เพราะพวกเราร้องเพลงผิดจังหวะส่วนใหญ่อาจารย์จึงนำเพลงเข้ามาสอนพวกเราไปในตัวตั้งแต่ตอนนี้ก่อนเลิกเรียน

"เพลง นม"
                                                     ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
นมป็นอาหารดี     มีคุณค่าต่อร่างกาย
ดื่มแล้วชื่นใจ    ร่างกายแข็งแรง
ยังมีนมถั่วเหลือง     ดื่มได้ดีและไม่แพง
ดื่มแล้วชื่นใจ    ร่างกายแข็งแรง


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     การที่เราได้ใช้ประสบการณ์เดิมก่อนเรียนเพื่อทบทวนว่าเรารู้อะไรบ้างแล้ว เป็นเรื่องที่ดีเพราะผู้สอนจะได้ทราบว่าเราขาดอะไร ผู้สอนจะได้เพิ่มเติมในส่วนที่เรายังไม่ทราบและสอนได้ถูกทาง สิ่งนี้เราสามารถนำไปใช้ในอนาคตได้เมื่อเราได้สอน ร้องเพลงก็ต้องนำไปใช้ตลอดจึงเป็นผลดีที่อาจารย์สอนเราจะได้มีเพลงเยอะๆในตอนออกไปฝึกสอน

บรรยากาศในห้องเรียน